• • • การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภาวะขาดแคลนน้ำ และทรัพยากรธรรมชาติที่ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของปัญหาสำคัญระยะยาวด้านสิ่งแวดล้อมที่หลายประเทศในเอเชีย แปซิฟิกกำลังเผชิญอยู่ และส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้ ฟอร์ดได้ชี้ถึงแนวทางการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (Sustainability Blues) ในฐานะเทรนด์ผู้บริโภคที่โดดเด่นในเอเชีย แปซิฟิก โดยในรายงานแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคของฟอร์ด (Ford Trend Report 2016) พบว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ในประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ผลการสำรวจระดับโลกล่าสุดของนีลเส็น (Nielsen) เผยว่า ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคของแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเติบโตขึ้นมากกว่า 4 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก ในขณะที่แบรนด์ที่ไม่แสดงว่าให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเติบโตน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังกล่าวว่า พวกเขายินดีที่จะจ่ายมากกว่าเพื่อแบรนด์ที่มีความยั่งยืน โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียม ซึ่งเกือบ 3 ใน 4 ของกลุ่มนี้กล่าวว่า พวกเขาพร้อมที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เพิ่มขึ้นจากประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์จากเมื่อปีที่แล้ว
ฟอร์ดได้ลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต 25 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 2553 ถึง 2558 นอกจากนี้ บริษัทยังกำลังมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการลดการใช้น้ำ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายลดการใช้น้ำดีเป็นศูนย์ในโรงงานผลิตของฟอร์ด
ในเอเชีย แปซิฟิค ฟอร์ดประสบความสำเร็จในการเดินหน้าลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างล่าสุดได้แก่ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนน็อคไซด์ต่อการผลิตรถยนต์ 1 คัน ได้เกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2559 เมื่อเทียบกับปี 2558 และลดลงเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่ปี 2553
ลดการปริมาณของเสียในการผลิตรถยนต์ต่อคันลงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในปี 2559 เมื่อเทียบกับปี 2554 และในปีเดียวกัน มากกว่าครึ่งของโรงงานผลิตของฟอร์ดในภูมิภาคยังลดการปล่อยของเสียลงเป็นศูนย์
ใช้น้ำในการผลิตรถยนต์ต่อคันน้อยลง 15 เปอร์เซ็นต์ในปี 2559 เมื่อเทียบกับปี 2558 ซึ่งเทียบเท่ากับอ่างอาบน้ำ 2 อ่าง หรือน้ำดื่มขนาดครึ่งลิตร 1,000 ขวด
เริ่มใช้เทคโนโลยีการพ่นสีแบบ 3 Wet ของฟอร์ด โดยพ่นทับกัน 3 ชั้น และอบสีเพียงครั้งเดียว (3-wet paint technology) ที่โรงงานฉางอันฟอร์ดในเมืองฉงชิ่ง ซึ่งช่วยเพิ่มความคงทนของสี ลดการปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย และลดการใช้พลังงานลงมากถึงปีละ 10 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับการใช้พลังงานของประชากร 18,600 คนต่อปีในประเทศจีน
ในประเทศไทย โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง (FTM) และโรงงาน ออโต้ อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (AAT) มีกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียแบบครบวงจร และในโรงงาน AAT มีการนำระบบจัดการระบายความร้อนภายในอาคารและกระบวนการกำจัดฟอสเฟตเข้ามาใช้ โดยสามารถช่วยทำให้ประหยัดน้ำได้มากกว่า 9,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี
ฟอร์ดกำลังพัฒนาและได้นำเสนอเทคโนโลยีเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังแบบใหม่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์อีโค่บูสต์ และระบบส่งกำลัง 6, 9 และ 10 สปีด รวมไปถึงการลดน้ำหนักของรถ และการพัฒนาการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic) เพื่อการประหยัดเชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ฟอร์ดยังนำวัสดุที่นำมาใช้ใหม่ได้และวัสดุชีวภาพมาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยยังคงรักษาสมรรถนะ คุณภาพ และความทนทานของรถยนต์ไว้ ในปัจจุบัน ชิ้นส่วนกว่า 300 ชิ้นที่ใช้ในรถยนต์ฟอร์ดนั้น ผลิตมาจากวัสดุชีวภาพ เช่น ถั่วเหลือง ฝ้าย ไม้ ป่าน ปอกระเจา และยางธรรมชาติ และบริษัทยังกำลังวิจัยถึงความเป็นไปได้ในการนำวัสดุอื่น ๆ ที่นำมาใช้ใหม่ได้ เช่น ไม้ไผ่ และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวสกุล Agave มาใช้ในอนาคต