• นายสมคิด ประดิษฐ์กำจรชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
• พร้อมด้วย นายสมชาย จักร์กรีนทร์ ผู้อำนวยการสถาบันไทย - เยอรมัน (Thai-German Institute) และ ดร.อภิชาติ ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Human Development Center)
• ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด สถาบันไทย - เยอรมัน มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยเทคนิคชั้นนำ 10 แห่ง ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
• ในการดำเนินโครงการ ‘การพัฒนาทักษะบุคลากรภายใต้ 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย’ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยียานยนต์ การผลิต และการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโตโยต้า
• ตลอดจนร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหลักสูตรองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็นอื่น ๆ แก่บุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมให้ตรงกับความต้องการของ 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
• 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อให้พร้อมรองรับต่อความต้องการแรงงาน
1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
5. อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
6. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม
7. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
8. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
9. อุตสาหกรรมดิจิทัล
10. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
11. อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
12. อุตสาหกรรมพัฒนาคน และการศึกษา
• แผนงานที่ทางโตโยต้าได้จัดเตรียมไว้สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บรรดาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบไปด้วย 2 โครงการหลัก
1
• โครงการส่งอาจารย์เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่สถาบันการศึกษา ภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ สถาบันไทย - เยอรมัน ในการจัดสรรคณะผู้เชี่ยวชาญ และผู้ฝึกสอน ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บรรดา นักเรียน นักศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ภายใต้ 2 หัวข้อหลัก
1.1 โรงงานอัจฉริยะ หรือ Smart Factory เป็นการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่นำเอาเทคโนโลยีเครื่องจักรต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT (Internet of Things) เข้ามาบริหารจัดการภายในโรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวก สร้างการทำงานที่เป็นระบบแบบอัตโนมัติ (Automation) ยกระดับคุณภาพของชิ้นงาน แต่ใช้กำลังคนที่น้อยลง
1.2 การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต หรือ Productivity Improvement เป็นการนำวิถี ‘การผลิตแบบโตโยต้า’ มาใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับ และถูกนำไปประยุกต์ใช้ทั่วโลก โดยมุ่งเน้นการผลิตที่ครบทั้งมาตรฐาน และคุณภาพตลอดทั้งกระบวนการ ประกอบไปด้วย 6 หัวข้อหลัก ได้แก่ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม คุณภาพ ผลผลิต ต้นทุน และการพัฒนาบุคลากร
• สถาบันการศึกษา 7 แห่ง ที่เข้าร่วมในโครงการดังกล่าวกับทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
• มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
• มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา
• มหาวิทยาลัยบูรพา
• มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
• มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
• วิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง
• วิทยาลัยเทคนิคพนมสารคาม
2
• โครงการพัฒนาผู้ประกอบการภายใต้อุตสาหกรรมยานยนต์ หลักสูตรการบำรุงรักษายานยนต์สมัยใหม่ ภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด สถาบันไทย - เยอรมัน และสถาบันการศึกษา 3 แห่ง ในเขตพื้นที่ EEC อันได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) วิทยาลัยเทคนิคบางแสน และวิทยาลัยเทคนิคระยอง
• ในการพัฒนา ‘หลักสูตรการบำรุงรักษายานยนต์สมัยใหม่’ ให้กับผู้ประกอบการภายใต้อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มแรงงานช่างเทคนิคเพื่อให้มีความพร้อมในการก้าวสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เสริมสร้างความรู้ และทักษะในการตรวจสอบ และการซ่อมบำรุงพื้นฐานให้กับยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานผสม (Hybrid Vehicle) ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle) และเทคโนโลยีการจัดการแบตเตอรี่ (Battery Management System) เป็นต้น