• ปริมาณของขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศที่มีสูงถึง 435,187 ตันต่อปี แต่กลับมีขยะที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้องตามมาตรฐานได้ไม่ถึง 10%
• บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ AIS ในฐานะของสมาชิกของ TBCSD - Thailand Business Council for Sustainable Development องค์กรที่เกิดจากการรวมตัวกันของภาคธุรกิจชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีสมาชิกกว่า 40 องค์กร
• ทั้งสององค์กรเดินหน้าภารกิจ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน
• ตั้งจุดรับทิ้ง และรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ ณ สำนักงานของ TOYOTA
• ต่อยอดกระบวนการการจัดการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์ หรือ Value Chain ตั้งแต่การแยกประเภทขยะ การทิ้ง การคัดแยก การรีไซเคิล ทำลาย ไปจนถึงการนำกลับมาใช้ใหม่
• พร้อมเปิดตัวการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ของโตโยต้า นั่นคือ บริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด หรือ WMS ผู้นำด้านการจัดการของเสียทุกประเภทอย่างครบวงจร
• เตาเผาแบบ Fix Combustion Furnace ของ WMS ที่นำเทคโนโลยีการจัดการแบบ Gasification จากประเทศญี่ปุ่นมาใช้ เพื่อช่วยกำจัดสารอันตรายที่หลงเหลือให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการเผาอย่างสูงสุด
• เตาเผาดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘การบริหารจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริด ใช้แล้วแบบครบวงจร’ ที่โตโยต้า และพันธมิตรทางธุรกิจได้เริ่มดำเนินการ ในปีพ.ศ. 2562 เพื่อวางรากฐานการบริหารจัดการตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ภายใต้แนวทาง การใช้ซ้ำ (Reuse) การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการผลิตใหม่ (Rebuilt)
• ความต่อเนื่องของโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ ทำให้ AIS ได้ทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ จนถึงขั้นตอนการนำ E-Waste เข้าสู่การจัดการอย่างถูกวิธี แล้วกว่า 240,125 ชิ้น (ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2564)