• • • IMx KURO (ไอเอ็มเอ็กซ์ คุโร) ครอสโอเวอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นครั้งแรกของยุโรป โดย ’คุโร’ แปลว่าสีดำในภาษาญี่ปุ่น
เทคโนโลยีการขับขี่ B2V (Brain-to-Vehicle) ที่นิสสันริเริ่มขึ้น เทคโนโลยี B2V จะแปลสัญญาณจากสมองของผู้ขับขี่เพื่อช่วยให้สามารถควบคุมการขับขี่ได้ดีมากขึ้น และช่วยให้รถยนต์สามารถเรียนรู้พฤติกรรมทั้งการขับขี่แบบอัตโมมัติ และการขับขี่ด้วยตนเอง
ประเด็นสำคัญด้านเทคโนโลยีที่ IMx KURO นำเสนอคือ เทคโนโลยี ProPILOT เวอร์ชั่นแห่งอนาคตที่นำเสนอการขับขี่แบบไร้คนขับเต็มรูปแบบ เมื่อเลือกใช้งานโหมด ProPILOT ระบบจะเก็บพวงมาลัยไว้ภายในแผงหน้าของรถ (dashboard) พร้อมปรับเอนเบาะทุกที่นั่ง เพิ่มพื้นที่ให้ผู้ขับขี่ได้รับความผ่อนคลาย และรู้สึกสบายตลอดการเดินทางมากขึ้น
เมื่อกลับสู่โหมดการขับขี่แบบแมนวล (Manual) พวงมาลัยจะกลับสู่ตำแหน่งเดิม และเบาะที่นั่งก็จะปรับให้อยู่ในตำแหน่งเริ่มต้น มอบการควบคุมตัวรถคืนแก่ผู้ขับขี่อย่างราบรื่น
IMx KURO ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากำลังสูงสองตัว ซึ่งติดตั้งทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพิ่มกำลังให้กับล้อทั้งสี่ มีพละกำลังรวมทั้งหมด 320 กิโลวัตต์ และแรงบิดมหาศาล 700 นิวตัน-เมตร ซึ่งมากกว่านิสสัน GT-R
ด้วยแหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่กำลังสูงซึ่งถูกออกแบบใหม่ทั้งหมด และปรับระบบวิศวกรรมใหม่เพื่อให้พลังงานที่เต็มเปี่ยมขึ้นกว่าเดิม แบตเตอรี่รุ่นใหม่ช่วยให้รถต้นแบบรุ่นนี้โลดแล่นได้ไกลกว่า 600 กิโลเมตร ต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง
IMx KURO สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมได้อย่างที่ไม่เคยมีรถยนต์รุ่นใดทำได้มาก่อน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตัวรถเสร็จสิ้นการส่งเจ้าของรถถึงสนามบินแล้ว IMx KURO สามารถเคลื่อนจอดได้เองในที่จอดที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้า และทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ‘เสมือนจริง’ ด้วยการคืนพลังงานไฟฟ้ากลับสู่โครงข่ายดังกล่าว ซึ่งเป็นคุณสมบัติใหม่ของการถ่ายเทพลังงานไฟฟ้าจากรถยนต์สู่บ้านเรือน (Vehicle-to-Home) และจากรถยนต์สู่อาคาร (Vehicle-to-Building) เมื่อเจ้าของรถต้องการใช้งานตัวรถ IMx KURO สามารถเคลื่อนที่ไปรับได้ที่อาคารผู้โดยสารของสนามบิน และมุ่งตรงกลับบ้าน
เบาะที่นั่งที่พิมพ์ และสลักด้วยเครื่องตัดเลเซอร์เป็นแพทเทิร์นแบบ ‘คาทานะกาเระ’ (katanagare) รูปทรงสามเหลี่ยมทแยงมุม
ขณะที่หมอนรองศีรษะเป็นลวดลาย ‘คูมิกิ’ (kumiki) หรือ บล็อกไม้ล็อกเข้ารูปแบบญี่ปุ่นทำด้วยวัสดุซิลิโคนที่นุ่มนวล และตัวโครงผลิตจากเครื่องพิมพ์สามมิติ