• นิสสันทดลองใช้นวัตกรรมสีพ่นรถยนต์ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยลดอุณหภูมิภายในห้องโดยสารของรถยนต์ในช่วงฤดูร้อน และลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ
• นวัตกรรมสีพ่นรถยนต์นี้ พัฒนาร่วมกับ Radi-Cool ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ระบายความร้อนด้วยรังสี โดยมีส่วนผสมของอภิวัสดุ หรือ Metamaterials วัสดุเสมือนที่ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ
• วัสดุผสมสังเคราะห์นี้มีโครงสร้างซึ่งมีคุณสมบัติที่ไม่พบในธรรมชาติโดยทั่วไป
• เดือนพฤศจิกายน 2023 นิสสันเริ่มทดลองการใช้งานจริงเป็นเวลา 12 เดือน ที่อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ที่สนามบินฮาเนดะ โดยร่วมมือกับ Japan Airport Terminal Co., Ltd., Radi-Cool Japan และบริการสนามบิน All Nippon Airways (ANA)
• สีพ่นรถยนต์แบบเย็นของนิสสันถูกนำไปใช้กับรถยนต์ Nissan รุ่น NV100 ที่ให้บริการโดยสายการบิน All Nippon Airways (ANA)
• ด้วยพื้นที่จอดขนาดใหญ่ที่เปิดโล่ง สนามบินฮาเนดะจึงมีสภาพแวดล้อมสำหรับการประเมินประสิทธิภาพของสี ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
• แม้ว่าอยู่ในระยะทดสอบ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันถือว่าน่าพอใจ โดยเมื่อจอดเทียบเคียงกันภายใต้แสงแดด รถยนต์ที่เคลือบด้วยสีแบบเย็นของนิสสัน มีอุณหภูมิที่พื้นผิวภายนอกลดลงถึง 12 องศาเซลเซียส และภายในห้องโดยสารเย็นลงถึง 5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้สีรถยนต์แบบเดิม
• ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนของสี จะสังเกตได้ชัดเจนโดยเฉพาะเมื่อจอดรถไว้กลางแดดเป็นเวลานาน
• ห้องโดยสารที่เย็นกว่าไม่เพียงแต่จะให้ความสบายมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังใช้เวลาในการเปิดเครื่องปรับอากาศน้อยลง เพื่อให้ห้องโดยสารมีอุณหภูมิที่สบายพอดี ลดภาระของเครื่องยนต์ หรือในกรณีของรถยนต์ไฟฟ้า จะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่น้อยกว่า
• อภิวัสดุ หรือ Metamaterials ที่ฝังอยู่ในสีแบบเย็นของนิสสัน ประกอบด้วยอนุภาค โครงสร้างขนาดจุลภาคสองอนุภาคที่ทำปฏิกิริยากับแสง
• อนุภาคที่หนึ่งจะสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้ในแสงแดด ปกติแล้วจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนในระดับโมเลกุลภายในเรซินของสีแบบเดิมเพื่อผลิตความร้อน
• ขณะที่อนุภาคที่ 2 ทำให้เกิดการค้นพบที่แท้จริง อนุภาคนี้จะสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ต่อต้านรังสีของดวงอาทิตย์ โดยเปลี่ยนเส้นทางพลังงานออกจากตัวรถไปสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อรวมกันแล้ว อนุภาคในสีแบบเย็นของนิสสัน จะลดการถ่ายเทความร้อนไปยังพื้นผิว เช่น หลังคา ฝากระโปรง ประตู และแผงข้างได้
• แม้ว่าสีระบายความร้อนแบบแผ่รังสีจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่โดยทั่วไปแล้วใช้กับอาคาร และโครงสร้าง ซึ่งมีความหนามาก ต้องใช้ลูกกลิ้งในการทาสี เนื่องจากไม่มีชั้นเคลือบใส จึงอาจทิ้งคราบคล้ายชอล์กไว้เมื่อสัมผัส
• ความท้าทาย คือต้องแน่ใจว่าสามารถผสมชั้นเคลือบใสได้ ฉีดพ่นด้วยปืนฉีดพ่น (ไม่ใช่การใช้ลูกกลิ้งทาสี)
• ตั้งแต่เริ่มพัฒนาในปี 2021 ได้ทดสอบตัวอย่างมากกว่า 100 ตัวอย่าง และปัจจุบันกำลังประเมินความหนาที่ 120 ไมครอน ซึ่งหนากว่าสีรถยนต์ทั่วไปประมาณ 6 เท่า
• ยืนยันแล้วว่าทนทานต่อเกลือ การแตก การลอก รอยขีดข่วน ปฏิกิริยาเคมี รวมถึงมีความสม่ำเสมอของสี และความสามารถในการซ่อมแซม
• การพัฒนาคืบหน้าไปอย่างมาก ทีมงานยังคงสำรวจตัวเลือกที่บางกว่า ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนในระดับเดียวกัน
• ในอนาคตจะสามารถนำเสนอการทำสีพิเศษนี้โดยที่มีสีที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานรถเพื่อการพาณิชย์ เช่น รถตู้ รถบรรทุก และรถพยาบาล ที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับการขับขี่