• อีซูซุ ผู้นำด้านรถเพื่อการพาณิชย์ระดับโลกมากว่า 8 ทศวรรษ แถลง “นโยบายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในระดับโลกและระดับประเทศ” ผ่าน “โซลูชั่นส์อันหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Multi-pathways to Carbon Neutrality)
• ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ การพัฒนาพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบการจัดการ และกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของอีซูซุ
• “แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมปี 2573” มีเป้าหมายที่จะนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ทั้งรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ รถปิกอัพ รถบัสโดยสาร
• สำหรับประเทศไทย วางแผนที่จะผลิตรถปิกอัพไฟฟ้าเพื่อส่งออก ซึ่งจะเริ่มจากประเทศในโซนยุโรปในปี 2568
• จะทยอยเปิดตัวในประเทศอื่น ๆ ตามกฎระเบียบ และความคืบหน้าด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนของแต่ละประเทศ
• อีซูซุจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 1 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 240,000 ล้านบาท ในด้านการวิจัย และพัฒนาภายในปีงบประมาณ 2573 เพื่อดำเนินการเรื่องการปฏิรูปทางดิจิทัลเกี่ยวกับความเป็นการทางคาร์บอน และโลจิสติกส์ (CN and logistics DX)
• อีกทั้งการสร้างศูนย์พัฒนา และทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ "The EARTH Lab" ภายในปี 2569
• ปัจจุบันประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก มีการผลิตรถยนต์ต่อปีมากถึง 1.8 - 1.9 ล้านคัน สูงที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับ 10 ของโลก
• เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเป็นรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engines : ICE) เกือบทั้งหมด
• ปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 9.73 แสนล้านบาท
• รถปิกอัพ และอนุพันธ์ในฐานะ “โปรดักส์แชมเปี้ยน” เป็นรถที่ส่งออกมากที่สุดถึง 786,383 คัน คิดเป็น 70% จากรถทุกประเภท
• นับจากนี้ไป อีซูซุในฐานะผู้นำรถเพื่อการพาณิชย์ของประเทศไทย พร้อมเดินหน้าสนับสนุนนโยบายรัฐบาลไทยในการมุ่งสู่สังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality Society) ในปี 2593
• การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608
• ตลอดจนสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน ด้วยแนวคิด “โซลูชั่นส์อันหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Multi-pathways to Carbon Neutrality)
• พัฒนารถที่มี “โซลูชั่นส์อันหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Multi-pathways to Carbon Neutrality) ไม่ใช่เพียงแต่รถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) หรือรถไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (FCEV) เท่านั้น
• แต่หมายรวมถึงพลังงานอื่น ๆ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Fuel) กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน อาทิ น้ำมันไบโอดีเซลเจนเนอเรชั่นใหม่จากพืชใช้แล้ว (HVO - Hydrotreated Vegetable Oil) และน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (e-Fuel)
Isuzu D-Max EV Concept
• รถปิกอัพ 4 ประตู ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Full Time
• ใช้แพลตฟอร์มเดียวกันกับรถปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซล ชุดมอเตอร์คู่ และเฟืองท้ายภายใต้ “eAxle” ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ทำงานร่วมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
• ผสานกับช่วงล่างด้านหลังใหม่หมดแบบ De-Dion มั่นใจบนทุกสภาพถนน เหมาะสมกับการใช้งานของรถปิกอัพ
• จุดเด่น คือใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากำลังสูง 2 ตัว แรงบิดรวมกัน 325 นิวตัน-เมตร มอเตอร์ไฟฟ้าคู่กำลังสูง
• การออกแบบโครงและตัวถังที่แข็งแกร่ง ช่วยเพิ่มความสามารถในการลากจูงได้
• มีแผนจะเริ่มผลิตเพื่อส่งออกอย่างเป็นทางการ จากฐานการผลิตประเทศไทยในปี 2568
• เนื่องจากวิธีการใช้งานของลูกค้าแตกต่างกัน รถปิกอัพไฟฟ้าต้นแบบ “อีซูซุ ดีแมคซ์” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับลูกค้าผู้ใช้รถ จะเปิดตัวในประเทศภาคพื้นทวีปยุโรปบางประเทศ เช่น นอร์เวย์ ในปี 2568
• จากนั้นมีกำหนดการจะเปิดตัวในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไทย ตลอดจนประเทศหรือภูมิภาคอื่น ๆ เป็นลำดับถัดไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และความพร้อมของสาธารณูปโภคด้านสถานีชาร์จรถไฟฟ้า
อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮ-แลนเดอร์ MHEV
• ระบบการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์ดีเซล เทอร์โบ กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก
• ติดตั้งแบตเตอรี่ 48 โวลต์ ทำหน้าที่เสริมกำลังขับเคลื่อนให้กับเครื่องยนต์ 1.9 Ddi Blue Power เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ในช่วงออกตัว รวมถึงช่วยลดการสั่นสะเทือนในจังหวะสตาร์ทเครื่องยนต์ และช่วยลด CO2
• อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮ-แลนเดอร์ MHEV คันนี้เป็นรถทดลองประกอบเพื่อเป็นหนึ่งในทางเลือกให้กับลูกค้าในการลด CO2
• รถประเภทนี้อาจจะเหมาะกับความต้องการของลูกค้าบางกลุ่ม อยู่ในระหว่างการสำรวจตลาดก่อนกำหนดแผนการจำหน่ายต่อไป
Isuzu Elf EV
• พัฒนาภายใต้แนวคิด “Isuzu Modular Architecture and Component Standard : I-MACS” สำหรับรถบรรทุกขนาดกลาง และขนาดใหญ่ในรูปแบบต่าง ๆ
• “Center Drive System EV” เป็นการออกแบบรถบรรทุกไฟฟ้าโดยเฉพาะ เนื่องจากต้องคำนึงถึงความสมดุลของการกระจายน้ำหนักรถ ระยะช่วงล้อหลัง และรัศมีวงเลี้ยวที่เหมาะสม
• เหมาะกับการใช้งานบรรทุกเบา วิ่งระยะสั้น อาศัยความคล่องตัว
• ใช้แพลตฟอร์มเดียวกันกับรถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซล เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อมีนาคม 2566
• กำลังพัฒนาเทคโนโลยีการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping System) ในระยะเวลาอันสั้น เพื่อลดระยะเวลาในการจอดเพื่อชาร์จแบตเตอรี่
• อีกทั้งยังสามารถเลือกแบตเตอรี่ได้ตั้งแต่จำนวน 2 - 5 ก้อน เพื่อให้เหมาะกับระยะทางการขนส่ง
Isuzu Elf FCEV
• รถบรรทุกไฟฟ้าขนาดกลางเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Isuzu Elf FCEV) การพัฒนาร่วมกันระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจ ภายใต้โครงการ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT)
• เหมาะกับการใช้งานบรรทุกหนัก สามารถเติมเชื้อเพลิงได้รวดเร็ว และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นการเพิ่มตัวเลือกรถบรรทุกในตลาด ตอบรับกับความต้องการก้าวสู่ยุคความเป็นกลางทางคาร์บอน
• ในญี่ปุ่นได้มีการวิ่งทดสอบตามการใช้งานจริงตามเมือง และประเภทการใช้งานต่าง ๆ จำนวน 90 คัน เมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่โตเกียว ฟุกุชิมะ และฟุกุโอกะ
• ส่วนประเทศไทยได้มีการวิ่งทดสอบแล้วจำนวน 4 คัน เมื่อเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน 2566
กิจกรรมเพื่อสนับสนุนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
1
• การลงนามในบันทึกข้อตกลงการเข้าร่วมมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากับกรมสรรพสามิต เพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถไฟฟ้าอีซูซุเพื่อจำหน่ายในประเทศ และเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกเหมือนเช่นที่ผ่านมา
2
• การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาโครงการทดสอบรถยนต์กับพลังงานสะอาด เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ระหว่างตรีเพชรอีซูซุเซลส์ มิตซูบิชิคอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) กับ ปตท. เพื่อทดสอบรถบรรทุกไฟฟ้าอีซูซุ วิ่งใช้งานจริง
• โดยใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100% ผ่านระบบบริหารจัดการพลังงาน ระบบชาร์จ และ EV อีโคซิสเต็มของ ปตท. และโครงการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับรถยนต์ดีเซล
• ทดสอบใช้ HVO น้ำมันไบโอดีเซลเจนเนอเรชั่นใหม่จากพืชใช้แล้ว
• ร่วมกับมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ศึกษาวิจัยน้ำมัน e-fuel ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 และสามารถใช้งานในเครื่องยนต์สันดาปภายในที่มีอยู่ในปัจจุบัน
• จะเริ่มวิ่งทดสอบการใช้น้ำมัน HVO ภายใต้สภาพการใช้งานจริงร่วมกับบริษัทชั้นนำของประเทศไทยตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป
• อีซูซุเชื่อว่าโครงการนี้จะทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ โดยสร้างผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน รวมถึงเครือข่ายการคมนาคมไทยน้อยที่สุด
3
• นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด เพื่อมอบทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว อีซูซุยังให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมการตลาด และการส่งเสริมการขาย ภายใต้แนวคิด “Isuzu Life Cycle Solutions”
• ให้การสนับสนุนผู้ใช้รถอีซูซุ ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นส์ทั้งในด้านเทคโนโลยี และการจัดอบรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงาน และลดต้นทุนโดยรวม พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดตลอดอายุการใช้งาน
4
• การสร้างจิตสำนึกด้านการประหยัดพลังงานในกลุ่มอีซูซุ ด้วยการปรับปรุงสำนักงานเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ติดตั้งแผงพลังงานโซลาร์เซลล์ที่โรงงานผลิต และขยายการติดตั้งในโชว์รูมทั่วประเทศ ช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 ไปแล้วกว่า 1,000 ตัน และลดอัตราการใช้ไฟฟ้าได้กว่า 50%
• อีกหลากหลายโครงการปลูกจิตสำนึกพนักงานในองค์กร เช่น โครงการแยกขยะ และโครงการปลูกป่า เป็นต้น
5
• การยกระดับโครงการ “อีซูซุให้น้ำ...เพื่อชีวิต” ที่กลุ่มอีซูซุร่วมมือกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 11 ปี โดยการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาปรับใช้ในโครงการ