644
คนดูทั้งหมด
จีเอ็มเปิดตัวแพลทฟอร์มรถยนต์ดิจิทัล

• เจนเนอรัล มอเตอร์ส เปิดตัวแพลทฟอร์มอิเล็กโทรนิกส์รุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับรถยนต์เจนเนอเรชั่นต่อไป รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ ระบบอินโฟเทนเมนท์ และการเชื่อมต่อ รวมถึงพัฒนาการของระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ Super Cruise

• ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ และรถยนต์จะมีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า ความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลทางไฟฟ้า (bandwidth) และการเชื่อมต่อจะมีความจำเป็นมากขึ้น

• เพื่อสร้างความมั่นใจว่าฟีเจอร์สำคัญอย่างระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ Super Cruise และระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุที่ล้ำสมัยจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

• เปิดตัวโดยการใช้งานครั้งแรกใน Cadillac CT5 ปี 2020 ที่เพิ่งเผยโฉมล่าสุด แพลทฟอร์มอิเล็กโทรนิกส์รุ่นใหม่จะขึ้นสายการผลิตภายในปีนี้ และจะใช้งานกับรถยนต์ส่วนใหญ่ของจีเอ็มที่จะออกวางจำหน่ายทั่วโลกภายในปี 2023

• เทคโนโลยีนี้ช่วยให้พลังงานระบบอิเล็กโทรนิกส์รุ่นใหม่สามารถจัดการประมวลผลข้อมูลได้สูงสุด 4.5 เทราไบต์ต่อชั่วโมง หรือเพิ่มขึ้น 5 เท่าเมื่อเทียบกับโครงสร้างทางไฟฟ้าของจีเอ็มที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

• ด้วยการขยายศักยภาพการอัพเดทซอฟต์แวร์แบบไร้สาย (OTA) ซึ่งเหมือนกับการอัพเดทซอฟท์แวร์สำหรับสมาร์ทโฟน ระบบนี้จึงรองรับการอัพเกรดการใช้งานได้ตลอดอายุใช้งานของรถยนต์

• โครงสร้างใหม่ยังมอบการสื่อสารที่รวดเร็วฉับไวยิ่งขึ้นทั้งภายในตัวรถยนต์ และกับแหล่งรับส่งสัญญาณภายนอก เนื่องจากการเชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตที่มีความเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาที 1 กิกะบิตต่อวินาที และ 10 กิกะบิตต่อวินาที

• การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์คืออีกหนึ่งเสาหลักสำคัญของโครงสร้างใหม่ ดีเอ็นเอภายในระบบนี้มาพร้อมฟีเจอร์เพื่อการป้องกันเพิ่มเติมในระดับฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่สะท้อนถึงการคาดการณ์ความปลอดภัยในอนาคตของบริษัท

• จีเอ็ม เป็นหนึ่งในบริษัทรถยนต์รายแรกๆ ที่สร้างหน่วยงานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผลิตภัณฑ์ระดับโลกขึ้นโดยเฉพาะ ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญภายในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกเจาะเข้าสู่ระบบรถยนต์และข้อมูลของลูกค้า

• เมื่อหลายปีที่แล้ว จีเอ็มดำเนินโครงการเปิดเผยช่องโหว่ด้านความปลอดภัยเพื่อให้สามารถทำงานกับกลุ่มการวิจัยได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น โครงการนี้เติบโตจนกลายเป็นโครงการค้นหาช่องโหว่ (bug bounty) ที่ทำให้การดำเนินการเพื่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของจีเอ็ม มีความแข็งแกร่งมากขึ้น

• จีเอ็ม ยังเป็นประธานกลุ่มออโต้-ไอเอสเอซี (Automotive Information Sharing & Analysis Center) กลุ่มหุ้นส่วนภาครัฐ และเอกชนที่แบ่งปัน วิเคราะห์ข่าวกรองเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่กำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์