653
คนดูทั้งหมด
WOMAN OF RANGER

• ก่อนจะมาเป็นรถกระบะพันธุ์แกร่ง ฟอร์ด เรนเจอร์ มีหญิงแกร่งหลายคนเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้

• ฟอร์ดมุ่งมั่นส่งเสริมความเสมอภาค และส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงในวงการยานยนต์ ด้วยการเพิ่มจำนวนบุคลากรหญิงในตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งระดับบริหาร วิศวกร นักออกแบบรถยนต์ไปจนถึงพนักงานปฏิบัติการในสายการผลิต และประกอบรถยนต์ 

• เนื่องในวันสตรีสากลวันที่ 8 มีนาคม 2563 ฟอร์ดรวบรวมเรื่องราวความภาคภูมิใจของของบุคลากรหญิงจากทั่วโลก รวมถึงวิศวกรหญิงไทย 4 คนจากโรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง (เอฟทีเอ็ม)

1

• นางสาวจุไรรัตน์ เดชาพิทักษ์  นักวิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายการจัดการห่วงโซ่อุปทาน กล่าวว่า ความภาคภูมิใจในฐานะวิศวกรที่ทำงานในสายการผลิต คือการได้เป็นส่วนหนึ่งในทีมพัฒนา และขยายสายการผลิตรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ ที่ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย (เอเอที) ในปี 2554 ที่ได้มีส่วนร่วมในทุกกระบวนการตั้งแต่การสร้างแบบงานพิมพ์สามมิติจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

• ดิฉันมองว่าการทำงานที่ฟอร์ดเป็นงานที่ท้าทาย และเปิดโอกาสให้เราได้พัฒนาตัวเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ

• ปัจจุบันรับผิดชอบการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่โรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง (เอฟทีเอ็ม) โดยวางแผน และจัดการกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับผู้จำหน่ายชิ้นส่วนรถยนต์ทั้งใน และต่างประเทศ

• การผลิตรถยนต์เป็นงานที่มีความท้าทาย แต่ถ้าผู้หญิงคิดว่าเรามีความสามารถที่จะทำงานต่าง ๆ ที่ท้าทายได้ คุณก็ทำทุกอย่างได้เท่าเทียมกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น

2

• นางสาวปัทรินทร์ เต็มเจริญ วิศวกรฝ่ายวางแผนระบบปฏิบัติการผลิต และประกอบรถยนต์ กล่าวว่า ดิฉันเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานพัฒนากระบวนการผลิตเครื่องยนต์ และระบบกันสะเทือนหน้าที่โรงงานเอฟทีเอ็ม

• ตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ฟอร์ด ดิฉันภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาฟอร์ด เรนเจอร์ เพื่อมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพมาตรฐานระดับโลกที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า ทั้งในด้านการทำงาน และการใช้ชีวิต

• ที่ฟอร์ด ผู้หญิง และผู้ชายเท่าเทียมกัน ดิฉันมองว่าการชอบเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ และมีความมั่นใจเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในสายงานการผลิต

3

• นางสาวสุธารัตน์ ศรีใจน้อย วิศวกรอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพ กล่าวว่า ดิฉันทำงานที่ฟอร์ดมานานกว่า 9 ปี หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก คือการพัฒนาการออกแบบรถยนต์ ซึ่งต้องทำงานร่วมกับหลากหลายทีมต่างสายงาน รวมถึงทีมงานจากโรงงานผลิตรถยนต์ฟอร์ดทั่วโลก เพื่อนำความคิดเห็นจากลูกค้าจากตลาดต่าง ๆ มาพัฒนาการออกแบบให้ตอบสนองการใช้งานของลูกค้าให้สมบูรณ์แบบที่สุด

• วัฒนธรรมองค์กรของฟอร์ดที่ดิฉันชอบ คือการเปิดโอกาสให้พนักงานทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ มีการใช้ชีวิตที่สมดุลในด้านการทำงาน และชีวิตส่วนตัว ส่งเสริมให้ทุกคนประสบความสำเร็จในบทบาทต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน ดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจอย่างมากที่ได้ทำงานในส่วนงานที่ดูแลการผลิตรถยนต์ฟอร์ด เรนเจอร์ ซึ่งเป็นรถกระบะที่ดีเยี่ยม และก็เท่ด้วย

4

• นางสาวฐิตาพร นกพลับ หัวหน้าแผนกส่วนงานผลิตตัวถังรถยนต์ กล่าวว่า หน้าที่หลักของดิฉัน คือการนำทีมงานผลิตตัวถังรถฟอร์ด เรนเจอร์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของฟอร์ด ดิฉันภูมิใจที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการผลิตรถกระบะคุณภาพมาตรฐานระดับโลก 

• ที่โรงงานเอฟทีเอ็ม มีบรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้าง ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น แบ่งปันความคิดใหม่ ๆ ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานที่ดีและสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน

• ฟอร์ดเป็นองค์กรที่สนับสนุนพนักงานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม เราคือทีมเดียวกัน