• เครื่องยนต์ V8 คำรามดุดันจากภายนอก แต่ภายในห้องโดยสารของมัสแตงกลับปราศจากเสียงรบกวน
• ความสมดุลระหว่างเสียงคำรามจากท่อไอเสีย และการออกแบบภายในที่สะดวกสบาย ถือเป็นความสำเร็จของทีม NVH หรือ Noise, Vibration and Harshness (ระดับเสียง ความสั่นสะเทือน และความกระด้าง)
• มร. แพท โอมาโฮนี ผู้จัดการทีม NVH ของฟอร์ด ประจำกลุ่มตลาดนานาชาติ ประจำการอยู่ที่สนามทดสอบรถยนต์ของฟอร์ด ออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในผู้นำระบบเสมือนจริง และเทคโนโลยีใหม่มาใช้ทดสอบระดับเสียง ความสั่นสะเทือน และความกระด้าง
• ระบบเสมือนจริงในการทดสอบ NVH ของฟอร์ด มี 3 รูปแบบ
1. การทดสอบผ่านคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป การทดสอบนี้คล้ายกับการติดตั้งเกมรถแข่งลงในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว โดยอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทดสอบประกอบด้วยหน้าจอ คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลได้เร็ว พวงมาลัย และหูฟัง
2. การทดสอบรถทั้งคันผ่านระบบเสมือนจริง ที่มีการจำลองค่า NVH ต่าง ๆ ทั้งเสียงภายในตัวรถ และการสั่นสะเทือนที่เสมือนการขับขี่บนถนนในสภาวะปกติ
3. การติดตั้งระบบเสมือนในรถที่ใช้งานจริง นี่คือเทคโนโลยีเสมือนจริงสุดล้ำ และใหม่ล่าสุด โดยการกำหนดค่า NVH ที่ต้องการทดสอบผ่านคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป ก่อนจะดาวน์โหลดข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อกับโมดูลที่ติดตั้งอยู่ในห้องโดยสารของรถที่ขับบนถนนจริง ๆ
• โมดูลดังกล่าวจะผลิตเสียงเสมือนกับเสียงของเครื่องยนต์ และท่อไอเสียของรถรุ่นที่ต้องการทดสอบภายใต้สถานการณ์ และสภาพถนนจริงที่กำลังขับอยู่
• ผู้ขับจึงได้รับความรู้สึกประหนึ่งว่ากำลังขับรถอีกคัน เช่น วิศวกรอาจนำค่าเสียงของฟอร์ด มัสแตง รุ่นใหม่หลาย ๆ แบบมาติดตั้งไว้ในฟอร์ด เอเวอเรสต์ เพื่อประเมิน และปรับจูนเสียงเครื่องยนต์ รวมถึงค่า NVH ต่าง ๆ ของรถรุ่นใหม่
• การทดสอบด้วยระบบเสมือนจริงช่วยให้ระบุปัญหาระหว่างการทดสอบผลิตภัณฑ์ได้ง่ายมาก แยกได้เลยว่าเสียงอะไรมีที่มาจากชิ้นส่วนไหนบ้าง ด้วยการค่อย ๆ ทดสอบเสียงทีละส่วนแยกกัน ไม่ว่าจะเป็นเสียงลม เสียงล้อบดถนน หรือเสียงเครื่องยนต์
• ก่อนที่จะมีการนำระบบเสมืองจริงมาใช้ ทีม NVH จะต้องใช้รถต้นแบบร่วมกับทีมวิศวกรพัฒนาผลิตภัณฑ์ การที่รถต้นแบบต้องถูกถอด ประกอบ และปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนอยู่เสมอ ส่งผลอย่างมากต่อการทดสอบ NVH
• แต่เมื่อมีการนำระบบเสมือนจริงมาใช้ สมาชิกในทีมทุกคนก็สามารถรวมตัวกันในห้องเดียวเพื่อช่วยกันฟัง และตัดสินใจเสียงแบบต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องขอยืมรถต้นแบบมาจากทีมวิศวกรพัฒนาผลิตภัณฑ์อีกต่อไป
• การใช้ระบบดังกล่าวยังช่วยลดเวลาการทำงาน และต้นทุนในการพัฒนารถยนต์อีกด้วย
ความท้าทายในอนาคต
• พัฒนาการของระบบส่งกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีด้วยรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า จะไม่มีเสียงของการจุดระเบิดเครื่องยนต์ และเสียงรถยนต์โดยรวมก็จะเบาลง เสียงระบบไฟฟ้ากลายเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องศึกษา
• ขณะที่เสียงภายนอกทั้งหลายที่คุ้นเคย เช่น เสียงถนน เสียงลม จะรู้สึกดังขึ้นมากจากความเงียบของระบบไฟฟ้า ดังนั้นการต้องเสาะหาวัสดุเก็บเสียงที่มีน้ำหนักเบาจึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่สำคัญ