• ทุกวันนี้เราใช้เวลาบนรถมากกว่าวันลาพักร้อน บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีอาริตี้ (Arity) พบว่าชาวอเมริกันใช้เวลาบนท้องถนนมากถึง 321 ชั่วโมงต่อปี ส่วนมากของเวลาที่เสียไปเป็นเวลาระหว่างนั่งรถไปกลับเพื่อไปทำงาน เทียบกับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ใช้เพียงปีละ 120 ชั่วโมง
• ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยโดยบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (บีซีจี) ในปี 2017 เผยว่า คนกรุงเทพฯ เสียเวลาไปกับรถติดถึง 18.2 วันต่อปี ยังไม่รวมเวลาหาที่จอดรถเพิ่มอีก 6 วัน
• โดยรวมแล้วคนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนถนนไปถึง 24 วัน ลองหาวิธีที่จะเปลี่ยนจากความเบื่อหน่ายระหว่างการเดินทาง เป็นความรู้สึกเชิงบวกกันดีกว่า
หาอะไรฟัง กันหงุดหงิด
• การเลือกฟังเพลย์ลิสต์ที่ชอบ และเพลงโปรดก็ช่วยให้หายเครียด เพลงจังหวะช้า ๆ ได้รับการทดสอบแล้วว่ามีผลต่ออารมณ์ของคนขับในแง่ดี
• ยิ่งเราใช้เวลากับการเดินทางไปมากเท่าไหร่ การออกแบบรถให้รองรับเวลาที่ต้องใช้บนรถยิ่งสำคัญมากขึ้นเท่านั้น
• ฟอร์ดออกแบบรถโดยใช้ผู้ขับเป็นศูนย์กลาง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ซิงค์ 3 ระบบความบันเทิงสุดชาญฉลาด สามารถฟังเสียงข้อความ เปลี่ยนเพลง หรือปรับอุณหภูมิในรถได้ด้วยคำสั่งเสียง
กลิ่นหอม เธอราพี
• งานวิจัยศึกษาเรื่องกลิ่น และผลกระทบของกลิ่นต่ออารมณ์ พฤติกรรม และประสิทธิภาพในการทำงานของมนุษย์ นักวิจัยพบว่ากลิ่นเป็ปเปอร์มินท์ช่วยฟื้นฟูจิตใจ เพิ่มศักยภาพทางกีฬา และความตื่นตัวของสมองได้
• กลิ่นซินนามอนช่วยเพิ่มสมาธิ และความเร็วในการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว
• งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า กลุ่มตัวอย่างลดความฉุนเฉียว และซึมเศร้าลง รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น หลังจากได้เดินในป่าสน
• การนำกลิ่นหอมมาช่วยผ่อนคลายระหว่างรถติด นอกจากจะช่วยลดความเครียด ยังช่วยเพิ่มความสดชื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำหอมดับกลิ่นในรถที่มีขายอยู่ทั่วไป หรือหยดน้ำมันหอมระเหยลงบนแผ่นน้ำหอมที่สามารถทำเองแบบง่าย ๆ
• กลิ่นผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้มหรือมะนาว จะทำให้รู้สึกกระปรี่กระเปร่า
• โรสแมรี่มีคุณสมบัติช่วยลดความเครียด และความกังวล
• อย่างไรก็ดี อย่าให้แผ่นน้ำหอมบดบังวิสัยทัศน์ในการขับรถ และทดลองก่อนว่ากลิ่นของน้ำมันหอมระเหยที่คุณเลือกใช้ไม่ทำให้รู้สึกเวียนหัว
• ความคิดของเรามีอิทธิพลต่อสิ่งต่าง ๆ แค่การทำใจให้สบายก็อาจจะเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด รวมถึงการวางแผนการเดินทางก็จะช่วยคลายความกังวลได้เช่นกัน