315
คนดูทั้งหมด
iTIC ขับเคลื่อนการจราจรอัจฉริยะ

• มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information enter Foundation) หรือ iTIC ร่วมกับ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

• จัดสัมมนา 4th iTIC FORUM 2023 : Power of Connectivity and Smart Mobility เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้าน Connectivity and Smart Mobility ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

• ยกระดับการพัฒนาระบบขนส่ง การจราจรอัจฉริยะและลดอุบัติเหตุในประเทศไทยแบบ real-time เนื่องจากประเทศไทยมีอุบัติเหตุเป็นอันดับ 9 ของโลก มีผู้เสียชีวิต 17,379 คน/ปี หรือกว่า 48คน/วัน

• มีฝุ่นควันพิษมากเป็นอันดับที่ 30 ของโลก และกรุงเทพมหานคร รถติดเป็นอันดับ 32 ของโลก

• นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเปิดงาน และปาฐกถาพิเศษ ‘ความพร้อมของการเชื่อมต่อ โครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย’ กระทรวงคมนาคมที่มุ่งเน้น 4 แนวทางหลัก

1. เปิดประตูการค้า การท่องเที่ยว ด้วยการพัฒนารถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ส่งเสริม และพัฒนาระบบโครงข่ายทางถนน และทางพิเศษให้ครอบคลุมความต้องการเดินทางของประชาชน ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าทางน้ำที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบัง ตลอดจนการศึกษาโครงการ Land Bridge เชื่อมทะเลอันดามัน และอ่าวไทย

2. เน้นความปลอดภัยลดอุบัติเหตุในการเดินทางของประชาชน

3. เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี และลดต้นทุนในการเดินทาง

4. เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น Green Transport ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และ PM 2.5

• ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในการเดินทาง รวมทั้งการบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการจราจร กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บริการครอบคลุมการเดินทาง

• รถไฟใต้ดิน บนดิน ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งสิ้น 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 276.84 กิโลเมตร

• ถนนทางหลวง ทางหลวงชนบท และทางหลวงท้องถิ่นรวมระยะทาง 707,364.25 กิโลเมตร

• นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information enter Foundation) หรือ iTIC กล่าวว่า มูลนิธิฯ พร้อมระดมพลังความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และเอกชน ขับเคลื่อนข้อมูล Big Data ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ นำมาประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลแก้ปัญหาจราจร และลดอุบัติเหตุแบบ real-time 

• เช่น การปิดจราจร อุบัติภัย ไฟไหม้ เมฆฝน และน้ำท่วม ภัยพิบัติ หรือแม้กระทั่ง ฝุ่น PM2.5 ตลอด 24 ชั่วโมง

• ที่สำคัญ มีการแจ้งเตือนการเกิดอุบัติเหตุ ให้ผู้ขับขี่ที่เดินทางไปในบริเวณรัศมี 5 กิโลเมตร จากจุดเกิดเหตุ iTIC รายงานข้อมูลแบบ Real time traffic โดยใช้ข้อมูลจาก Vehicle Probe กว่า 100,000 คัน ที่วิ่งอยู่ทั่วประเทศมาประมวลผล แสดงบน Digital Map มีกล้อง CCTV รวมทั้งหมด 282 กล้อง

• อนาคตมีแผนขยายการเชื่อมต่อกล้อง CCTV จากเทศบาลเมืองภูเก็ต อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่ และอีกหลายจังหวัด 

• กล้อง CCTV นอกจากใช้ประโยชน์ในการดูสภาพจราจรแบบ Real time แล้ว ยังใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ มีการเสนอจุดฝืดของจราจร 20 จุดใน กทม. รวมทั้งจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ กทม. และฉะเชิงเทรา

• รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึง ‘แนวคิดใหม่ในการสัญจรของคนกรุง’ ปัจจุบันยังพบว่าปัญหาการเดินทางของประชาชน คือการเชื่อมต่อจุดหมายปลายทางของการเดินทาง บางเส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้ายังไปไม่ถึง

• ที่ผ่านมา กทม. ได้มีการทำแพลตฟอร์ม Traffic Fongdu ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแจ้งเรื่องร้องเรียนถึงปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนในกรุงเทพฯ ประมาณ 300,000 เรื่อง พบว่าปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามาส่วนใหญ่ คือเรื่องปัญหาการเดินทางถนน และปัญหาบนทางเท้า

• กทม. มีแผนจะปรับปรุงทางเท้าใหม่ โดยใช้มาตรฐานใหม่ในการก่อสร้างทั้งวัสดุผิวทางเท้า คอนกรีตเสริมเหล็กหนาประมาณ 10 เซนติเมตร 

• ทั้งยังมีแผนดำเนินการก่อสร้างทางเดินสำหรับกันแดด และการฝน เพื่อเชื่อมต่อป้ายรถประจำทาง และสถานีรถไฟฟ้า

• ติดตั้งระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรเป็นพื้นที่ (ATC) โดยเป็นการนำข้อมูล Probe Data มาใช้ในพื้นที่โครงการ ซึ่งจะช่วยลดความล่าช้าการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนลง 10% และลดความล่าช้าการเดินทางนอกชั่วโมงเร่งด่วนลง 30%

• มีการจัดนิทรรศการโดยผู้สนับสนุนหลัก SME และ Start up ถึง 30 บูท โดยมีผู้สนใจทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 300 รายเข้าร่วมงานสัมมนา