• เชฟโรเลตนำเคล็ดลับการเตรียมรถให้พร้อมสำหรับการขับขี่ในช่วงฤดูฝน รวมถึงเมื่อเจอน้ำท่วมกลางทางควรทำอย่างไร
1
• ตรวจสอบว่ายางทุกเส้น รวมถึงยางอะไหล่มีดอกยางพร้อมใช้งาน หากดอกยางสึก และชำรุด จะทำให้สูญเสียการทรงตัว ไม่ยึดเกาะถนน และลดประสิทธิภาพการเบรก
• ระวังอาการลอยตัวหรือเหินน้ำ เกิดขึ้นเมื่อยางรถไม่สามารถรีดน้ำระหว่างยาง และพื้นผิวถนนออกได้ จะทำให้ยาง และตัวรถลื่นไถล
• แรงดันลมยางก็มีความสำคัญเช่นกัน ดูแรงดันลมยางที่ขอบประตูฝั่งคนขับ
2
• ถ้ามีเสียงดังระหว่างที่ใบปัดน้ำฝนทำงานหรือทิ้งคราบน้ำไว้บนกระจกหน้า ก็ควรเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนใหม่
• ใบปัดน้ำฝนใหม่ช่วยป้องกันรอยขีดข่วนบนกระจกหน้า และเพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่เมื่อฝนตก
3
• การใช้น้ำยาเคลือบกระจกจะช่วยลดปริมาณหยดน้ำที่เกาะบนกระจกหน้า และช่วยทำให้หยดน้ำไม่เกาะติด และจะไหลออกเป็นเม็ดไปพร้อมกับลม
4
• น้ำมันเบรกเก่าหรือที่ใช้งานมานานแล้วอาจมีความชื้น ซึ่งจะลดประสิทธิภาพการเบรก และอาจสร้างความเสียหายต่อชิ้นส่วนในระบบเบรก
5
• หากเจอน้ำท่วมขังบนถนน และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรปิดแอร์ และเปิดหน้าต่าง
• การขับขี่บนถนนที่มีน้ำท่วมขังขณะเปิดแอร์ อาจทำให้เครื่องยนต์ดับ เนื่องจากพัดลมจะทำงาน และทำให้น้ำเข้าสู่เครื่องยนต์
6
• ควรขับรถบนกึ่งกลางหรือใกล้กับกึ่งกลางของถนน เนื่องจากระดับน้ำจะต่ำที่สุด โดยใช้เกียร์ต่ำ
7
• รักษาความเร็วให้คงที่ ความเร็วไม่เกิน 3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเพิ่มความเร็วเป็น 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
• ถ้าเร่งรุนแรงเกินไปอาจทำให้น้ำทะลักเข้าสู่เครื่องยนต์ และส่งผลให้เครื่องยนต์ดับ
• ไม่ควรถอนคันเร่ง และหลีกเลี่ยงการหยุดรถบนถนนที่มีน้ำท่วมขัง
8
• เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าพอสมควร หรือขับรถผ่านบริเวณที่น้ำท่วมขังทีละคัน เพื่อป้องกันการหยุดรถกลางทาง
9
• หลังจากขับรถท่ามกลางสายฝน ควรล้างรถเพื่อขจัดคราบฝุ่นผง และสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่สะสมอยู่บนสีรถ และอาจทำให้สีเสื่อมสภาพ
800
• เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ และโคโลราโด เป็นรถยกสูงที่มีระบบป้องกันการลื่นไถล และระบบควบคุมเสถียรภาพ สามารถลุยน้ำได้ที่ระดับความลึกสูงสุดถึง 800 มิลลิเมตร โดยที่ไม่สูญเสียพละกำลังในการขับรถให้เคลื่อนที่ไปอย่างช้า ๆ ที่ระดับความลึกนี้
• ส่วนฟังก์ชั่นการทำงานอื่น ๆ อาทิ ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ และระบบเปิด-ปิดไฟหน้าอัตโนมัติ จะช่วยให้ผู้ขับขี่โฟกัสอยู่กับการขับรถ และให้ความสนใจต่อสถานการณ์โดยรอบ
• การทดสอบการรั่วซึมของน้ำที่เข้าไปในตัวรถของจีเอ็ม มุ่งสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานระยะยาว โดยการใช้หัวฉีดน้ำ 330 หัว ฉีดน้ำ 3,123 ลิตรต่อนาที เข้าทางด้านล่างของตัวรถ ด้านข้าง และด้านบน เพื่อทดสอบความแข็งแรงของยางขอบประตูและหน้าต่าง เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำจะไม่รั่วซึมเข้าไปสู่ห้องโดยสาร
• การทดสอบดังกล่าวยังช่วยสร้างความมั่นใจว่าน้ำจะไม่รั่วซึมเข้าสู่ระบบระบายอากาศของเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอื่น ๆ ใต้ท้องรถ
• การทดสอบการรั่วซึมของน้ำที่เข้าไปในตัวรถยังเป็นการจำลองการทดสอบการขับขี่ในสภาพอากาศที่มีหมอกหนา ซึ่งพบได้ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากหมอกที่หนาแน่นจะสามารถแทรกซึมเข้าสู่ตัวรถยนต์ได้ ในขณะที่หยดน้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลเมื่อมีน้ำซึมเข้าทางขอบยางที่มีการบีบอัดน้อยกว่า
• ร่องน้ำลึกกลางแจ้งระยะทาง 15 เมตรของจีเอ็ม ถูกออกแบบขึ้นเพื่อทำการทดสอบการขับผ่านน้ำอย่างช้า ๆ เช่น การจำลองการขับข้ามลำธารระหว่างการเดินทางแคมป์ปิ้ง เมื่อน้ำรั่วไหลเข้าสู่เครื่องยนต์อาจสร้างความเสียหายต่อของเหลวในระบบส่งกำลัง และชิ้นส่วนเครื่องยนต์อย่างท่อไอเสีย
• ทีมวิศวกรของจีเอ็มยังใช้หัวฉีดน้ำแรงดันสูง (7,584 กิโลปาสกาล) เพื่อการทดสอบท่อไอดี ระบบระบายอากาศเครื่องยนต์ และระบบระบายอากาศของระบบเชื้อเพลิง
• การทดสอบระบบประจุอากาศหลังกระจังหน้ารถ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าลูกค้าที่ใช้หัวฉีดน้ำแรงดันสูงดังกล่าวจะไม่ทำให้ชิ้นส่วนของตัวรถเกิดความเสียหาย